มก. เปิดห้องปฏิบัติการทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยาง RPM KU มาตรฐาน ISO/IEC 17025

February 05, 2025
แชร์เนื้อหาหน้านี้

ผู้บริหารจัดการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ หัวหน้าศูนย์ฯ ได้เปิดบริการห้องปฏิบัติการทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยาง RPM KU อย่างเป็นทางการ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและการเรียนรู้ตลอดชีวิต รักษาการแทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานในพิธีเปิดห้องปฏิบัติการฯ ดังกล่าว ณ ชั้น 3 อาคารศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ 60 พรรษา คณะวิทยาศาสตร์ มก. ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการทดสอบน้ำยางข้นธรรมชาติ (มอก.980-2552) แห่งแรกของมหาวิทยาลัยไทย และทดสอบฟองน้ำลาเท็กซ์สำหรับหมอน (มอก.2471-2559) แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 จากกรมวิทยาศาสตร์บริการ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจจะสนใจ

Hub of Talents ยางพารา วช. จัดอบรมทำบทความวิชาการนานาชาติ

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ หัวหน้าศูนย์ฯ และคณะทำงาน ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำบทความวิชาการและสนับสนุนการตีพิมพ์ระดับนานาชาติด้านยางพารา ในวันที่ 24-25 มิถุนายน 2567 ณ โรงแรมมารวย การ์เด้น กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับเกียรติจาก Dr. Andrew Warner (English editor) เป็นวิทยากร โดยมีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ บริษัท บางกอกพัฒนามอเตอร์ จำกัด และ บริษัท เอส.เค. โพลีเมอร์ จำกัด อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.matichon.co.th/publicize/news_4646560

February 5, 2025

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพาราลงพื้นที่ตรวจติดตามและขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ “แผ่นยางปูทางผ่านเสมอระดับทางรถไฟ”

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. นำโดย รศ.ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ นำทีมลงพื้นที่ตรวจติดตามและขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ “แผ่นยางปูทางผ่านเสมอระดับทางรถไฟ” ซึ่งได้รับทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยมี รศ.ดร.อิทธิพล แจ้งชัด นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (หัวหน้าโครงการ) ร่วมกับคณะทำงานจากบริษัท เอส. เค. โพลีเมอร์ จำกัด ณ กองบำรุงทางเขตฉะเชิงเทรา การรถไฟแห่งประเทศไทย และ สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ในวันที่ 5 กันยายน 2567 ซึ่งในการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์และความร่วมมือจากการรถไฟแห่งประเทศไทยที่เป็นผู้ใช้ประโยชน์ของผลงานวิจัยดังกล่าว โดยแผ่นยางปูทางผ่านเสมอระดับทางรถไฟถือเป็นหนึ่งในผลงานที่มีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมและมีผลตอบรับจากผู้ใช้งานเป็นอย่างดี และปัจจุบันมีแผนในการขยายผลไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ภายใต้การดูแลของการรถไฟแห่งประเทศไทยอีกด้วย