ลงพื้นที่ตรวจติดตามและขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ “สารลดกลิ่นเหม็นในยางก้อนถ้วยสำหรับอุตสาหกรรมยางแท่ง”

February 05, 2025
แชร์เนื้อหาหน้านี้

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. นำโดย รศ.ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ นำทีมลงพื้นที่ตรวจติดตามและขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ “สารลดกลิ่นเหม็นในยางก้อนถ้วยสำหรับอุตสาหกรรมยางแท่ง” ซึ่งได้รับทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยมี รศ.ดร.นันทิยา หาญศุภลักษณ์ นักวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (หัวหน้าโครงการ) ณ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด มหาชน สาขาอุบลราชธานี

ซึ่งในการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์และความร่วมมือจากบริษัท ศรีตรังฯ ที่เป็นผู้ใช้ประโยชน์ของผลงานวิจัยดังกล่าว โดยสารลดกลิ่นเหม็นในยางก้อนถ้วยนี้ถือเป็นหนึ่งในผลงานที่มีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมและมีผลตอบรับจากผู้ใช้งานเป็นอย่างดี และในอนาคตจะมีการขยายผลการใช้ประโยชน์ของงานวิจัยนี้ไปที่สาขาอื่น ๆ ต่อไป

 

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจจะสนใจ

การจัดฝึกอบรมเพื่อยกระดับองค์ความรู้และทักษะของบุคลากรและสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารากลางน้ำ

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. จัดฝึกอบรมเพื่อยกระดับองค์ความรู้และทักษะ(Reskill/Upskill/Newskill) ของบุคลากรและสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารากลางน้ำ ณ การยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนล่าง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 12-13 กันยายน 2567 การอบรบครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล ผู้อำนวยการศูนย์บริการทดสอบรับรองภาคใต้ การยางแห่งประเทศไทย เป็นวิทยากรให้ความรู้ในเรื่อง “การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับยางพารา ได้แก่ การผลิตน้ำยางสด ยางแผ่นรมควันเกรดพรีเมียม และการผลิตยางก้อนถ้วย” และรองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา หาญศุภลักษณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง “สารยับยั้งจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของการเกิดกลิ่นเหม็นในยางก้อยถ้วย” ซึ่งเป็นผลงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติด้วย โดยกิจกรรมในวันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับองค์ความรู้ของบุคลากรและสร้างเครือข่ายในภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่บุคลากรด้านยางพาราทุกภาคส่วน ก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยางพารา รวมถึงมีรายได้จากการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพาราเพิ่มขึ้น ตลอดจนเป็นการผลักดันและขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ของผลงานวิจัยด้านยางพาราอย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย นอกจากนี้ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. ขอกล่าวขอบคุณ ว่าที่ ร.ต.ศุภชัย จันทร์แก้ว ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนล่าง มา ณ โอกาสนี้ ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์สถานที่และอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมดังกล่าวจนสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

February 5, 2025

ภาพบรรยากาศการเสวนาเรื่อง “อุตสาหกรรมยางพาราไทยกับกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและการกีดกันทางการค้า”

ผู้บริหารจัดการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ หัวหน้าศูนย์ฯ และคณะทำงาน ได้จัดงานการเสวนาเรื่อง “อุตสาหกรรมยางพาราไทยกับกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและการกีดกันทางการค้า” ในงาน อว.แฟร์: SCI Power for Future Thailand วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2567 ณ ห้อง 204 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดย คุณสุภาพร โชคเฉลิมวงศ์ ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 1 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นประธานกล่าวเปิดงาน มีผู้เข้าร่วมรับฟังการเสวนาทั้งจากสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนหน่วยงานต่างๆประมาณ 60 คน โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ ได้กล่าวถึงมุมมองของนักวิชาการต่อกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบต่อการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมยางพาราและได้ให้แนวทางในการพัฒนางานวิจัยยางพาราเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.matichon.co.th/publicize/news_4702669

มก. เปิดห้องปฏิบัติการทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยาง RPM KU มาตรฐาน ISO/IEC 17025

ผู้บริหารจัดการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ หัวหน้าศูนย์ฯ ได้เปิดบริการห้องปฏิบัติการทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยาง RPM KU อย่างเป็นทางการ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและการเรียนรู้ตลอดชีวิต รักษาการแทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานในพิธีเปิดห้องปฏิบัติการฯ ดังกล่าว ณ ชั้น 3 อาคารศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ 60 พรรษา คณะวิทยาศาสตร์ มก. ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการทดสอบน้ำยางข้นธรรมชาติ (มอก.980-2552) แห่งแรกของมหาวิทยาลัยไทย และทดสอบฟองน้ำลาเท็กซ์สำหรับหมอน (มอก.2471-2559) แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 จากกรมวิทยาศาสตร์บริการ อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่