ราคายางดิ่ง! “ชวน” ต่อสายตรงถึง “นฤมล-กยท.” ขอเร่งคลี่คลาย

April 22, 2025
แชร์เนื้อหาหน้านี้

วันที่ 14 เม.ย. 2568 นายพินิจ บุญญามณี อดีต รมช.มหาดไทย เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ราคายางพาราตกต่ำต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา จากแรงกดดันจากมาตรการทางการค้าของสหรัฐอเมริกา ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่มีแนวโน้มขึ้นภาษีศุลกากรต่อสินค้านำเข้าจากหลายประเทศ รวมถึงยางพาราของไทย แม้จะมีประกาศขยายเวลาการบังคับใช้ออกไปอีก 90 วัน แต่สถานการณ์ราคายางตกต่ำยังทรุดตัวลง ส่งผลให้เกษตรกรชาวสวนยางในหลายพื้นที่ต้องเผชิญกับภาวะขาดทุนสะสม และขาดเสียรายได้อย่างรุนแรง ล่าสุด นายอนุชา หลักคำ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรัฐมนตรี ได้รับเรื่องร้องเรียนจากพี่น้องชาวสวนยางจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ที่พึ่งพายางพาราเป็นรายได้หลัก รับเรื่องร้องทุกข์ของพี่น้องชาวสวนยางพารา เป็นกิจวัตรต่อสายติดต่อผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึง นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานในขณะนั้น (รมว.เกษตรฯ) และนายเทพกิจ เลิศวิจิตร ประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรแห่งประเทศไทย (กยท.) เพื่อขอให้เร่งดำเนินการอย่างเป็นระบบในการคลี่คลายปัญหาราคายางตกต่ำโดยเร็ว

“เบื้องต้นจาก กยท. ระบุว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคายางตกต่ำในขณะนี้ มาจากพฤติกรรมของผู้ประกอบการรายใหญ่บางรายที่กดราคารับซื้ออย่างไม่เป็นธรรม ทั้งยังได้รับแรงกระทบจากทิศทางตลาดโลกและมาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ คณะกรรมการการยางฯ เตรียมเชิญผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้าหารืออย่างเร่งด่วน เพื่อกำหนดแนวทางรับมือ พร้อมจัดทำมาตรการรองรับทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยหนึ่งในแนวทางเบื้องต้นที่ประธานบอร์ด กยท. เสนอ คือ การพิจารณาใช้กลไกตามพระราชบัญญัติยางพารา พ.ศ. 2542 เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางในตลาด

ทั้งนี้ นายอนุชา ได้ย้ำว่า จะติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด พร้อมให้การสนับสนุนทุกมาตรการที่มุ่งช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางอย่างแท้จริง” นายพินิจ กล่าว

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจจะสนใจ

ลงพื้นที่ตรวจติดตามและขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ “สารลดกลิ่นเหม็นในยางก้อนถ้วยสำหรับอุตสาหกรรมยางแท่ง”

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. นำโดย รศ.ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ นำทีมลงพื้นที่ตรวจติดตามและขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ “สารลดกลิ่นเหม็นในยางก้อนถ้วยสำหรับอุตสาหกรรมยางแท่ง” ซึ่งได้รับทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยมี รศ.ดร.นันทิยา หาญศุภลักษณ์ นักวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (หัวหน้าโครงการ) ณ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด มหาชน สาขาอุบลราชธานี ซึ่งในการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์และความร่วมมือจากบริษัท ศรีตรังฯ ที่เป็นผู้ใช้ประโยชน์ของผลงานวิจัยดังกล่าว โดยสารลดกลิ่นเหม็นในยางก้อนถ้วยนี้ถือเป็นหนึ่งในผลงานที่มีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมและมีผลตอบรับจากผู้ใช้งานเป็นอย่างดี และในอนาคตจะมีการขยายผลการใช้ประโยชน์ของงานวิจัยนี้ไปที่สาขาอื่น ๆ ต่อไป  

February 5, 2025

Hub of Talents ยางพารา วช. จัดอบรมทำบทความวิชาการนานาชาติ

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ หัวหน้าศูนย์ฯ และคณะทำงาน ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำบทความวิชาการและสนับสนุนการตีพิมพ์ระดับนานาชาติด้านยางพารา ในวันที่ 24-25 มิถุนายน 2567 ณ โรงแรมมารวย การ์เด้น กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับเกียรติจาก Dr. Andrew Warner (English editor) เป็นวิทยากร โดยมีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ บริษัท บางกอกพัฒนามอเตอร์ จำกัด และ บริษัท เอส.เค. โพลีเมอร์ จำกัด อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.matichon.co.th/publicize/news_4646560

การจัดฝึกอบรมเพื่อยกระดับองค์ความรู้และทักษะของบุคลากรและสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารากลางน้ำ

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. จัดฝึกอบรมเพื่อยกระดับองค์ความรู้และทักษะ(Reskill/Upskill/Newskill) ของบุคลากรและสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารากลางน้ำ ณ การยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนล่าง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 12-13 กันยายน 2567 การอบรบครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล ผู้อำนวยการศูนย์บริการทดสอบรับรองภาคใต้ การยางแห่งประเทศไทย เป็นวิทยากรให้ความรู้ในเรื่อง “การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับยางพารา ได้แก่ การผลิตน้ำยางสด ยางแผ่นรมควันเกรดพรีเมียม และการผลิตยางก้อนถ้วย” และรองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา หาญศุภลักษณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง “สารยับยั้งจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของการเกิดกลิ่นเหม็นในยางก้อยถ้วย” ซึ่งเป็นผลงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติด้วย โดยกิจกรรมในวันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับองค์ความรู้ของบุคลากรและสร้างเครือข่ายในภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่บุคลากรด้านยางพาราทุกภาคส่วน ก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยางพารา รวมถึงมีรายได้จากการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพาราเพิ่มขึ้น ตลอดจนเป็นการผลักดันและขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ของผลงานวิจัยด้านยางพาราอย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย นอกจากนี้ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. ขอกล่าวขอบคุณ ว่าที่ ร.ต.ศุภชัย จันทร์แก้ว ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนล่าง มา ณ โอกาสนี้ ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์สถานที่และอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมดังกล่าวจนสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี